วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559





ปลาข้องเดียวกัน  ตัวหนึ่งเน่า  ก็พลอยพาให้เหม็นไปด้วย  :  สำนวนนี้ค่อนข้างจะยาวไปสักหน่อย  แต่ก็เป็นที่จำได้ง่าย  หรือใช้กันทั่วไป  มีความหมายว่า  คนที่อยู่ร่วมกัน  ถ้าคนใดคนหนึ่งทำมิดี  หรือทำชั่วก็พลอยให้คนอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมกันเสียไปด้วย.
ปลาหมอตายเพราะปาก  : หมาถึงคนที่ชอบพูดพล่อย ๆ รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือพูดแสดงความอวดดี  จนตัวเองต้องรับเคราะห์ก็เพราะปากของตนเอง  สำนวนนี้มาจากปลาหมอที่อยู่ในลำน้ำ  มักชอบผุดขึ้นฮุบเหยื่อหรือน้ำบ่อย ๆ จนเป็นที่สังเกตของนักจับปลาได้ว่า  ปลาหมออยู่ตรงไหน  ก็เอาเบ็ดล่อลงไปรงนั้นไม่ค่อยพลาด  จึงเรียกว่า  ปลาหมอตายเพราะปาก.
ปล่อยเสือเข้าป่า  ปล่อยปลาลงน้ำ  : สำนวนนี้มีความหมายอย่างเดียวกันทั้งสองประโยคที่ว่า  การปล่อยให้บุคคลสำคัญ  หรือศัตรูที่เราจับได้กลับไปสู่แห่ลงเดิมของมัน  เพราะเสือย่อมอยู่ในป่า  และปลาอยู่ในน้ำ  เมื่อมันกลับสู่รังธรรมชาติของมันแล้ว  กำลังวังชาของมันก็ย่อมมีขึ้นอย่างเดิม  มันอาจจะเป็นเหตุให้ศัตรูกลับมาคิดแก้แค้นเราได้ภายหลัง.

มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก  :  สำนวนนี้หมายถึงคนที่พูดเก่ง  หรือตลบแตลงเก่ง  พูดกลับกลอกได้รอบตัว  หรือพูดจนจับคำไม่ทัน  เป็นที่ไม่น่าเชื่อถือและไว้ใจ  เปรียบเหมือนกับว่าเป็นคนหลบหลีกได้คล่อง  ถึงจะเอามะกอกใส่เต็มตะกร้า ๓ - ๔ ตะกร้ามาขว้างปาก็ไม่ถูก  ทำนองเดียวกับที่ว่า  " จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน "




เต่าใหญ่ไข่กลบ  :  เป็นสำนวนที่หมายความว่า  การทำอะไรที่เป็นพิรุธแล้วพยายามจะกลบเกลื่อนไม่ให้คนอื่นรู้  สำนวนนี้เอาเต่ามาเป็นคำเปรียบเทียบก็เพราะธรรมชาติของเต่าใหญ่  เช่น  เต่าตนุเวลาจะวางไข่  ก็คลานขึ้นมาบนหาดทราย  แล้วคุ้ยทรายให้เป็นหลุมเพื่อไข่  พอไข่เสร็จก็คุ้ยทรายกลบไข่เสีย  เพื่อซ้อนไข่ของตนให้พ้นจากศัตรู  หรือคนลักไปทำลาย.
ตักน้ำรดหัวตอ  :  สำนวนนี้  โบราณใช้เป็นคำเปรียบเทียบถึงการที่เราจะตักเตือน  หรือสั่งสอนใครสักคนหนึ่งแต่คนนั้นไม่ยอมรับ  หรือไม่เชื่อฟังคำเรา  เปรียบได้กับการที่เราเฝ้าหมั่นรดน้ำหัวตอของต้นไม้  เพื่อหวังจะให้งอกงามขึ้นมาได้  ความหมายอย่างเดียวกับสำนวนพังเพยที่ว่า  " ตักน้ำรดหัวสากล "  และ  " สีซอให้ควายฟัง ".
ตัวตายดีกว่าชาติตาย  :  สำนวนนี้เป็นสำนวนปลุกใจที่สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว  มีความหมายไปในทางให้คนเรารักประเทศชาติหรือบ้านเมืองของตนเองให้มั่น  เมื่อยามมีศัตรูมารุกรานบ้าเมืองก็พร้อมที่จะพลีชีวิตร่วมกันต่อสู้เพื่อป้องกันประเทศโดยยอมให้ตนเองตายดีกว่าชาติหรือประเทศต้องถูกทำลายลง.







งูเห็นนมไก่ ไก่เห็นตีนงู  : คำพังเพยสำนวนนี้ จะพูดสลับกัน คือเอาประโยคหลังขึ้นก่อนก็ได้ว่า " ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ " เพราะความหมายสัมพันธ์กัน ซึ่งตามธรรมชาติแล้วเราจะไม่เคยได้เห็น " ตีนงู " หรือ " นมไก่ " เลย เพราะงูไม่มีตีนและไก่ก็ไม่มีนม ความหมายของสำนวนจึงแปลว่า คนสองคนต่างคนต่างเห็นหรือรู้เรื่องเดิมหรือรู้ความในกันดี แต่คนอื่นอาจไม่เห็น หรือไม่รู้เรื่องของคนสองคนนี้เลย เช่น คนสองคนทำตนเป็นคนมั่งมีหรือมีความรู้สูงเพื่ออวดคนอื่น ๆ แต่ทั้งสองคนนี้ต่างรู้ไส้กันดีว่าแท้จริงแล้วต่างคนต่างไม่มีเงิน หรือไม่มีความรู้เลยเมื่อมาพบกันเข้าจึงเท่ากับว่า " ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ ".

ตักน้ำใส่กะโหลก  ชะโงกดูเงา  : สำนวนนี้เป็นคำเปรียบเปรย  หรือเป็นเชิงเตือนสติคนที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง  หรือคนที่ทะเยอทะยานทำตนเสมอกับคนที่สูงกว่า  ให้รู้จักยั้งคิดว่าฐานะของตนเองเป็ยอย่างไรเสียก่อน  จึงค่อยคิดทำเทียมหน้าเขา  ความหมายทำนองเดียวกับที่ว่า  " ส่องกระจกดูเงาของตัวเองเสียก่อน "  สำนวนนี้  ผู้หญิงสูงศักดิ์มักจะใช้เป็นคำเปรียบเปรยเย้ยหยันผู้ชายที่มีฐานะต่ำต้อย









กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา : แปลว่าคนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้ว คิดทำมิด ีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อนคนโบราณเอาลักษณะของแมวที่ไม่ดี คือกินแล้วไม่ขี้ให้เป็นที่กลับขึ้นไปขี้บนหลังคาให้เป็นที่สกปรกเลอะเทอะเพราะคนสมัยก่อนต้องการให้หลังคาสะอาดเพื่อรองน้ำฝนไว้กิน  จึงเอาแมวชั่วนี้ มาเปรียบเทียบกับคนชั่วที่ไม่รู้จักบุญคุณคน.
กินปูนร้อนท้อง : สำนวนนี้มาจากตุ๊กแก ว่ากันว่า ตุ๊กแกที่กินปูน (ปูนแดงที่กินกับหมากพลู )
มักจะทำอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องแกร็กๆ เหมือนอาการร้อนท้องหรือปวดท้อง
จึงนำเอามาเปรียบกันคนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้ สำนวนนี้มักพูดกันว่า  "  ตุ๊กแกกินปูนร้อนท้อง  ".
ไก่กินข้าวเปลือก : สำนวนคำพังเพยประโยคนี้ ถ้าพูดให้เต็มความก็ต้องพูดว่า " ตราบใดที่ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ ตราบนั้นคนเราก็ยังอดกินสินบนไม่ได " เข้าใจว่าเป็นคำพังเพยของจีน ๆ เอามาใช้เป็นภาษาของเขาก่อน แล้วไทยเราเอามาแปลเป็นภาษาไทยใช้กันอยู่มากในส

คำพังเพย




คำพังเพย  เป็นการกล่าวเปรียบเทียบ(อุปมา) ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  มีที่มาจากคำกล่าวต่อๆกันมาช้านาน จากเหตุการณ์ในวิถีชีวิตของคนรุ่นก่อนๆซึ่งมีความหมายแฝง มีลักษณะคล้ายภาษิต เพื่อเป็นข้อคิดหรือแสดงความคิดเห็นทั่วๆไป หรืออาจเป็นการกล่าวเปรียบเปรยอะไรบางอย่างโดยมิได้มุ่งเน้นการสอนใจ หรืออาจเป็นการกล่าวกระทบเสียดสีก็ได้ 


ตัวอย่างคำพังเพย

          กินปูนร้อนท้อง : คำพังเพยนี้มาจากตุ๊กแก ว่ากันว่า ตุ๊กแกที่กินปูน (ปูนแดงที่กินกับหมากพลู ) มักจะทำอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องแกร็กๆ เหมือนอาการร้อนท้องหรือปวดท้อง จึงนำเอามาเปรียบกันคนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้ สำนวนนี้มักพูดกันว่า " ตุ๊กแกกินปูนร้อนท้อง "
        ขนมพอผสมกับน้ำยา  : ที่มาของคำพังเพยนี้เข้าใจว่ามาจาก  " ขนมจีนน้ำยา "  ที่เราเคยรับประทานกันมาแล้ว  คือ  ขนมจีนกับน้ำยาจะต้องผสมให้เข้ากันหรือได้ส่วนพอเหมาะ  จึงจะรับประทานอร่อยเรียกว่าเวลาตักน้ำยาราดขนมลงบนขนมจีน  ต้องกะส่วนให้พอลงคลุกผสมกับขนมจีนได้พอเหมาะ  หรือให้มีสัดส่วนเข้ากันพอดีทั้งสองฝ่าย  เมื่อรับประทานแล้วเกิดอร่อยไม่ใช่ว่าขนมจีนอร่อย  หรือน้ำยาอร่อยแต่อร่อยด้วยกันทั้งสองอย่าง  เรียกว่า  " พอดีกัน "  จึงเกิดเป็นสำนวนที่ตีความหมายเอาว่า  ทั้งสองฝ่ายต่างพอดีกัน  จะว่าข้างไหนดีก็ไม่ได้