คำพังเพย เป็นการกล่าวเปรียบเทียบ(อุปมา) ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีที่มาจากคำกล่าวต่อๆกันมาช้านาน จากเหตุการณ์ในวิถีชีวิตของคนรุ่นก่อนๆซึ่งมีความหมายแฝง มีลักษณะคล้ายภาษิต เพื่อเป็นข้อคิดหรือแสดงความคิดเห็นทั่วๆไป หรืออาจเป็นการกล่าวเปรียบเปรยอะไรบางอย่างโดยมิได้มุ่งเน้นการสอนใจ หรืออาจเป็นการกล่าวกระทบเสียดสีก็ได้
ตัวอย่างคำพังเพย
กินปูนร้อนท้อง : คำพังเพยนี้มาจากตุ๊กแก ว่ากันว่า ตุ๊กแกที่กินปูน (ปูนแดงที่กินกับหมากพลู ) มักจะทำอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องแกร็กๆ เหมือนอาการร้อนท้องหรือปวดท้อง จึงนำเอามาเปรียบกันคนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้ สำนวนนี้มักพูดกันว่า " ตุ๊กแกกินปูนร้อนท้อง "
ขนมพอผสมกับน้ำยา : ที่มาของคำพังเพยนี้เข้าใจว่ามาจาก " ขนมจีนน้ำยา " ที่เราเคยรับประทานกันมาแล้ว คือ ขนมจีนกับน้ำยาจะต้องผสมให้เข้ากันหรือได้ส่วนพอเหมาะ จึงจะรับประทานอร่อยเรียกว่าเวลาตักน้ำยาราดขนมลงบนขนมจีน ต้องกะส่วนให้พอลงคลุกผสมกับขนมจีนได้พอเหมาะ หรือให้มีสัดส่วนเข้ากันพอดีทั้งสองฝ่าย เมื่อรับประทานแล้วเกิดอร่อยไม่ใช่ว่าขนมจีนอร่อย หรือน้ำยาอร่อยแต่อร่อยด้วยกันทั้งสองอย่าง เรียกว่า " พอดีกัน " จึงเกิดเป็นสำนวนที่ตีความหมายเอาว่า ทั้งสองฝ่ายต่างพอดีกัน จะว่าข้างไหนดีก็ไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น