ปลาข้องเดียวกัน ตัวหนึ่งเน่า ก็พลอยพาให้เหม็นไปด้วย : สำนวนนี้ค่อนข้างจะยาวไปสักหน่อย แต่ก็เป็นที่จำได้ง่าย หรือใช้กันทั่วไป มีความหมายว่า คนที่อยู่ร่วมกัน ถ้าคนใดคนหนึ่งทำมิดี หรือทำชั่วก็พลอยให้คนอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมกันเสียไปด้วย.
ปลาหมอตายเพราะปาก : หมาถึงคนที่ชอบพูดพล่อย ๆ รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือพูดแสดงความอวดดี จนตัวเองต้องรับเคราะห์ก็เพราะปากของตนเอง สำนวนนี้มาจากปลาหมอที่อยู่ในลำน้ำ มักชอบผุดขึ้นฮุบเหยื่อหรือน้ำบ่อย ๆ จนเป็นที่สังเกตของนักจับปลาได้ว่า ปลาหมออยู่ตรงไหน ก็เอาเบ็ดล่อลงไปรงนั้นไม่ค่อยพลาด จึงเรียกว่า ปลาหมอตายเพราะปาก.
ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ : สำนวนนี้มีความหมายอย่างเดียวกันทั้งสองประโยคที่ว่า การปล่อยให้บุคคลสำคัญ หรือศัตรูที่เราจับได้กลับไปสู่แห่ลงเดิมของมัน เพราะเสือย่อมอยู่ในป่า และปลาอยู่ในน้ำ เมื่อมันกลับสู่รังธรรมชาติของมันแล้ว กำลังวังชาของมันก็ย่อมมีขึ้นอย่างเดิม มันอาจจะเป็นเหตุให้ศัตรูกลับมาคิดแก้แค้นเราได้ภายหลัง.
มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก : สำนวนนี้หมายถึงคนที่พูดเก่ง หรือตลบแตลงเก่ง พูดกลับกลอกได้รอบตัว หรือพูดจนจับคำไม่ทัน เป็นที่ไม่น่าเชื่อถือและไว้ใจ เปรียบเหมือนกับว่าเป็นคนหลบหลีกได้คล่อง ถึงจะเอามะกอกใส่เต็มตะกร้า ๓ - ๔ ตะกร้ามาขว้างปาก็ไม่ถูก ทำนองเดียวกับที่ว่า " จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน "